Translate

วันอังคารที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2556


เทคนิคในการแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย

1. ในภาษาอังกฤษมีรูปประโยคที่เริ่มต้นด้วย It is เมื่อแปลแล้วคือ มันเป็น การใช้ มันเป็น ทำให้ภาษาไทยขาดความสละสลวย จึงไม่ควรใช้ ตัวอย่างเช่น

It is said that the transit of Venus can damage your eyes.

แปลถูก กล่าวกันว่าการเคลื่อนย้ายของดาวศุกร์ผ่านดวงอาทิตย์สามารถทำอันตรายสายตาคุณ
แปลผิด มันถูกกล่าวว่าการเคลื่อนย้ายของดาวศุกร์สามารถทำอันตรายตาของคุณ


2.ในภาษาอังกฤษจะใส่จำนวนอยู่หน้าคำนามโดยไม่มีลักษณะนาม  เช่น

Ten female singers are singing on the stage.

แปลถูก นักร้องหญิงสิบคนกำลังร้องเพลงอยู่บนเวที
แปลผิด สิบผู้หญิงนักร้องเป็นกำลังร้องเพลงบนเวที

3. รูปประโยคที่เป็น passive voice เป็นการเน้นผู้ถุกกระทำ การใช้ “ ถูก + กริยา” ในภาษาไทยนิยมใช้ในเรื่องไม่ดีหรือไม่เป็นที่พอใจ เช่น

My brother was hit badly yesterday.

แปลถูก น้องชายของแนถูกตีอย่างแรงเมื่อวานนี้
แปลผิด ของฉันน้องชายถูกตีอย่างเลวเมื่อวานนี้

4. ภาษาอังกฤษมีการเรียงลำดับคำขยายคำนาม (Adjective) ไว้ข้างหน้าคำนาม ส่วนภาษาไทยจะแตกต่างคือ มีการเรียงคำขยายคำนาม (Adjective) ไว้ข้างหลังคำนาม เช่น

There are ten black cats in the big cage.

แปลถูก มีแมวดำสิบตัวในกรงใหญ่
แปลผิด ที่นั่นเป็นสิบดำแมวในกรงใหญ่

5. การแปลคำพูดในภาษาอังกฤษมักนิยมใส่ผู้พูดไว้หลังคำพูด แต่ในภาษาไทยนิยมนำชื่อผู้พูดใส่ไว้ก่อนคำพูด  ตัวอย่าง  เช่น

“As long as I can remember, people have been interested in me,” Renji said. “ People love me and want to be with me because of my father. I have to tell them that I am not a religious leader and that I never will be.”

คำแปล เรนจิพูดว่า ตั้งแต่ดิฉันจำความได้ ผู้คนส่วนมากสนใจดิฉัน พวกเขารักดิฉันและต้องการอยู่ใกล้ชิด ก็คงเป็นเพราะคุณพ่อของดิฉัน ดิฉันต้องบอกพวกเขาว่า ดิฉันไม่ได้เป็นผู้นำทางศาสนาและดิฉันจะไม่มีวันเป็นด้วย

6. ควรระลึกอยู่เสมอว่าในการแปลจากภาษาอังกฤษเป็นไทย การแปลจะต้องใช้ภาษาเขียนที่ถูกต้องชัดเจนตามหลักภาษาไทย และเป็นภาษาที่ใช้แบบราชการเท่านั้น จะไม่มีการใช้ตัวสะกดตามภาษาพูด ตัวอย่างเช่น

-         คำภาษาอังกฤษ “ side effect” ควรแปลเป็น ผลข้างคียง” แต่กลับเป็น “ ผลค้างเขียง”  เพราะผู้แปลใช้วรรณยุกต์ไม่ถูกต้อง ทำให้ความหมายผิดไปมาก เช่น

The medicine has some side effects that can make you nauseous.

แปลถูก ยานี้มีผลข้างคียงบางอย่างซึ่งอาจทำให้คุณรู้สึกคลื่นไส้
แปลผิด ยานี้มีผลค้างเขียงอันไหนสามารถทำให้คุณคลื่นไส้

 

ที่มา เตือนจิตต์ จิตต์อารี.แปลให้เป็นแล้วเก่ง.กรุงเทพมหานคร;อมรินทร์พริ้นติ้ง.2548.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น